เมนู

ตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.
จบสุนทรสมุทรเถรคาถา

อรรถกถาสุนทรสมุทรเถรคาถาที่ 1



ในสัตตกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คาถาของท่านพระสุนทรสมุทรเถระ มีคำเริ่มต้นว่า อลงฺกตา ดังนี้.
เรื่องนี้มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
เป็นบุตรของเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติมากคนหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ ได้มี
ชื่อว่า สมุทร. แต่ปรากฏชื่อว่า สุนทรสมุทร เพราะมีรูปสมบัติ.
ท่านดำรงอยู่ในปฐมวัย ได้เห็นพุทธานุภาพในคราวที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ ถึงได้ศรัทธา เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยในการ
สลัดออก (จากทุกข์) จึงบวช ได้อุปสมบทแล้วสมาทานธุดงค์ จากกรุง-
ราชคฤห์ไปยังกรุงสาวัตถี เรียนวิปัสสนาในสำนัก ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณ-
มิตร บำเพ็ญเพียรกรรมฐานอยู่. ในวันมีมหรสพในกรุงราชคฤห์ มารดา
ของท่านได้เห็นลูกเศรษฐีอื่นๆ พร้อมภรรยา พากันตกแต่งประดับประดา
เล่นมหรสพอยู่ หวนระลึกถึงบุตรจึงร้องไห้.
หญิงคณิกาคนหนึ่งเห็นดังนั้น จึงถามถึงเหตุที่ร้องไห้ นางจึงบอก
เหตุนั้น แก่หญิงคณิกาคนนั้น. หญิงคณิกาได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ดิฉัน
จักนำเธอมา เบื้องต้นท่านจงเห็นแก่ความเป็นลูกผู้หญิงของดิฉันก่อน

นางจึงสัญญาว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจักการทำเจ้าเท่านั้น ให้เป็น
ภรรยาเขาแล้วตั้งให้เป็นเจ้าของตระกูลนี้ ดังนี้แล้ว ให้ทรัพย์เป็นอันมาก
แล้วส่งไป นางจึงไปยังกรุงสาวัตถี ด้วยบริวารเป็นอันมากแล้วพักอยู่ใน
เรือนหลังหนึ่ง ใกล้ที่เที่ยวบิณฑบาตของพระเถระ ใช้ให้คนอื่น ๆ ถวาย
บิณฑบาตแก่พระเถระโดยเคารพ และ (ตนเอง) ตกแต่งประดับประดา
สวมรองเท้าทอง แสดงตนให้ (พระเถระเห็น).
ครั้นวันหนึ่ง นางเห็นพระเถระกำลังเดินไปทางประตูเรือน จึงถอด
รองเท้าทองประคองอัญชลีเดินไปข้างหน้า เชื้อเชิญพระเถระด้วยการเชื้อ
เชิญด้วยกาม มีประการต่าง ๆ. พระเถระได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า ธรรมดา
จิตของปุถุชนมักหวั่นไหว ถ้ากระไร เราพึงทำความอุตสาหะพยายามใน
บัดนี้แหละ ยืนอยู่ในที่นั้นนั่นเอง บำเพ็ญภาวนาก็ได้อภิญญา 6 ซึ่งท่าน
หมายกล่าว1ไว้ว่า
หญิงแพศยาผู้ประดับร่างกาย นุ่งห่มผ่าใหม่อันงาม
ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยเครื่องหอม เท้าย้อมด้วยสีแดง
สวมรองเท้าทอง นางถอดรองเท้ายืนประคองอัญชลีอยู่
ข้างหน้า กล่าวกะเราผู้เคยยำเกรง ด้วยถ้อยคำอันอ่อน
หวานว่า
ท่านเป็นบรรพชิตหนุ่ม ขอจงเชื่อฟังคำของดิฉัน ขอ
เชิญท่านสึกออกมาบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิดดิฉัน
ขอให้สัตย์ปฏิญาณแก่ท่าน หรือดิฉันจะนำเอาไฟมาทำ

1. ขุ. เถร. 26/ข้อ 361.

สบถก็ได้. เมื่อใด เราทั้งสองแก่เฒ่าจนถึงถือไม้เท้า เมื่อ
นั้นเราทั้งสองจึงค่อยบวช เราทั้งสองถือเอาชัยในโลกทั้ง-
สองก่อนเถิด.
เราเห็นหญิงแพศยาคนนั้น ผู้ตกแต่งร่างกาย นุ่งห่ม
ผ้าใหม่อันงามดี มาทำอัญชลีอ้อนวอนเรา เหมือนกับบ่วง
มัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้. ลำดับนั้น โยนิโสมนสิการ
เกิดขึ้นแก่เรา เราได้เห็นโทษของสังขารแล้ว เกิดความ
เบื่อหน่าย. ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากกิเลส ขอ
ท่านจงเห็นคุณวิเศษของพระธรรมอย่างนี้เถิด บัดนี้ เราได้
บรรลุวิชชา 3 แล้ว ได้ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
แล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาลธารี ได้แก่ ทัดทรงระเบียบดอกไม้
คือประดับพวงดอกไม้.
บทว่า วิภูสิตา ได้แก่ ตกแต่งกายด้วยดอกไม้ และลูบไล้ด้วย
เครื่องหอมเป็นต้น โดยการทำที่พร่องให้เต็ม.
ด้วยบทว่า อลงฺกตา นี้. ท่านประสงค์เอาการประดับด้วยเครื่อง
อาภรณ์ทั้งหลาย มีสร้อยข้อมือและสร้อยคอเป็นต้น.
บทว่า อลตฺตกกตาปาทา ได้แก่ ผู้มีเท้าทั้งคู่ย้อมด้วยน้ำครั่ง อัน
มีสีดังดอกชัยพฤกษ์และดอกคำแก่จัด. จริงอยู่ บทว่า อลตฺตกกตาปาทา
นี้ เป็นบทสมาส (วิธีย่อศัพท์ทางภาษาบาลี) ควรจะกล่าวว่า อลตฺตกกต-
ปาทา
แต่ท่านทำให้เป็นทีฆะ เพื่อสะดวกในการแต่งคาถา. แต่ในเมื่อ

ไม่เป็นบทสมาส จะต้องเข้าใจคำที่เหลือ (ซึ่งจะต้องเดิมเข้ามา) ว่า
ตสฺสา.
ในบทว่า ปาทุการุยฺห เวสิกา นี้ พึงเติมคำที่เหลือเข้ามาว่า หญิง
คนหนึ่งผู้อาศัยรูปเลี้ยงชีพ มีเพศตามที่กล่าวแล้ว สวมรองเท้าทองยืนอยู่.
บทว่า ปาหุกา โอรุหิตฺวาน แปลว่า ลงจากรองเท้า อธิบายว่า
ถอดรองเท้าทอง.
บทว่า ปญฺชลีกตา ความว่า นางคือหญิงแพศยา ประคองอัญชลี
กล่าวกะเรา อีกอย่างหนึ่ง เว้นคำอื่น ๆ ที่เนื่องกันมาเสีย นางได้กล่าวเอง
คือด้วยตนเองทีเดียว.
บทว่า สณฺเหน ได้แก่ กลมเกลี้ยง.
บทว่า มุทุนา แปลว่า อ่อนหวาน. แม้จะไม่กล่าวคำว่า วจเนน
ก็ย่อมเป็นอันกล่าว เพราะกล่าวคำว่า อภาสถ ไว้.
ด้วยบทว่า ยุวาสิ ตฺวํ ปพฺพชิโต นี้ ท่านแสดงความว่า ท่านเมื่อ
บวชก็เป็นคนหนุ่มแน่นบวช เมื่อจะบวชควรบวชในเมื่ออายุถึง 70 ปี
มิใช่หรือ.
บทว่า ติฏฺฐาหิ มม สาสเน ความว่า ท่านจงตั้งอยู่ในถ้อยคำของ
เราเถิด. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า ก็คำนั้นเป็นอย่างไร ? นางจึงกล่าวว่า
จงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด. บุคคลผู้ประสงค์จะบริโภคกาม
ต้องปรารถนารูปสมบัติ วัยสมบัติ บริขารสมบัติ และโภคสมบัติ. ในสมบัติ
เหล่านั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เราจักมีโภคสมบัติมาแต่ไหน เพราะเหตุนั้น
นางจึงกล่าวว่า ดิฉันจะให้ทรัพย์อันเป็นเครื่องปลื้มใจแก่ท่าน. พระเถระ
จะพึงสำคัญว่า คำนี้นั้นจะพึงเชื่อได้อย่างไร เพราะเหตุนั้น นางเมื่อจะ

ให้พระเถระนั้นเชื่อถือจึงกล่าวว่า ดิฉันขอทำสัตย์ปฏิญาณแก่ท่าน หรือ
ว่าดิฉันจะนำเอาไฟมาทำสบถก็ได้.
อธิบายว่า คำใดที่ดิฉันปฏิญาณไว้ว่า
ท่านจงบริโภคกามอันเป็นของมนุษย์เถิด ดิฉันจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
แก่ท่าน คำนั้นดิฉันขอให้สัตย์ปฏิญาณไว้อย่างเด็ดขาด ถ้าท่านยังไม่ตกลง
ใจแก่ดิฉัน ดิฉันจะนำเอาไฟมาทำสบถก็ได้ คือดิฉันจะนำเอาไฟมาแล้ว
การทำสบถต่อหน้าไฟ.
บทว่า อุภยตฺถ กฏคฺคโห ความว่า การที่เราทั้งสองบวชในเวลา
แก่เฒ่า เป็นการถือชัยชนะในโลกทั้งสองไว้ได้ อธิบายว่า ข้อที่เราทั้งสอง
ใช้สอยโภคะไปจนตราบเท่าถือไม้เท้านั้น ชื่อว่าไม่เสื่อมจากโภคะแม้ใน
โลกนี้ ข้อที่เราทั้งสองจักบวชในภายหลังนั้น ชื่อว่าไม่เสื่อมจากโภคะแม้
ในโลกหน้า.
บทว่า ตโต แปลว่า เหตุนั้น คือเหตุแห่งคำที่หญิงแพศยานั้น ผู้
เชื้อเชิญ ด้วยกามทั้งหลาย กล่าวด้วยคำมีอาทิว่า ท่านยังเป็นหนุ่ม และด้วย
คำมีอาทิว่า เมื่อใด เราทั้งสองแก่เฒ่า ดังนี้. จริงอยู่ พระเถระกระทำ
คำนั้นให้เป็นดุจขอสับ การทำสมณธรรม ได้ทำประโยชน์ของตนให้.
บริบูรณ์แล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.
จบอรรถกถาสุนทรสมุทรเถรคาถาที่ 1

2. ลกุณฏกเถรคาถา



ว่าด้วยคาถาของพระลกุณฏกเถระ


[362] ภัททิยภิกษุอยู่ ณ อัมพาฏการามอันเลอเลิศใกล้ไพร-
สณฑ์ ได้ถอนตัณหาพร้อมทั้งรากขึ้นแล้ว เป็นผู้เจริญ
ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพ่งฌานอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กาม-
โภคีบุคคลบางพวกย่อมยินดีด้วยเสียงตะโพน เสียงพิณ
และบัณเฑาะว์ แต่ความยินดีของพวกเขานั้นไม่ประเสริฐ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ส่วนเรายินดีแล้วในคำสอน
ของพระพุทธเจ้า ยินดีอยู่ที่โคนไม้ ถ้าพระพุทธเจ้าได้
ประทานพรแก่เรา เรารับพรนั้นแล้ว ถือเอากายคตาสติ
อันโลกทั้งปวงพึงเจริญเป็นนิตย์ ชนเหล่าใดถือรูปร่างเรา
เป็นประมาณ และถือเสียงเราเป็นประมาณ ชนเหล่านั้น
ตกอยู่ในอำนาจฉันทราคะ ย่อมไม่รู้จักเรา คนพาลถูก
กิเลสกั้นไว้รอบด้าน ย่อมไม่รู้ภายใน ทั้งไม่เห็นภาย-
นอก ย่อมลอยไปตามเสียงโฆษณา แม้บุคคลผู้เห็นผล
ภายนอก ไม่รู้ภายใน เห็นแต่กายนอก ก็ลอยไปตาม
เสียงโฆษณา ส่วนผู้ใดมีความเห็นไม่ถูกกั้น ย่อมรู้ชัด
ทั้งภายใน และเห็นแจ้งทั้งภายนอก ผู้นั้นย่อมไม่ลอย
ไปตามเสียงโฆษณา.

จบลกุณฏกเถรคาถา